วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกเรื่องเล่าลพบุรี+เรื่องเล่า เมืองละโว้

เรื่องเล่า เมืองละโว้

ตามพงศาวดารเหนือได้กล่าวไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 1788 “พ่อขุนรามคำแหง” ราชโอรสแห่งเมืองสุโขทัย ได้เสด็จมาศึกษาเล่าเรียนที่เขาสมอคอน เมืองลพบุรี และหลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 1797 “พ่อขุนงำเมือง” ราชโอรสแห่งเมืองพะเยา ได้เสด็จมาศึกษาที่เขาสมอคอนเช่นเดียวกัน เมืองลพบุรีในยุคนั้น จึงเป็นเมืองศูนย์กลางของศิลปวิทยาการที่มีความสำคัญยิ่ง

จนกระทั่ง หลังจากยุคสมัยของพระราเมศวร เมืองลพบุรีก็เสื่อมความสำคัญลง จนถึง รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่เมืองลพบุรีไว้เป็นที่ประทับ เมื่อปี พ.ศ. 2209 และเสด็จประทับที่เมืองลพบุรีเป็นเวลานาน 8 – 9 เดือนใน 1 ปี เมืองลพบุรีในสมัยของพระองค์ถือได้ว่าเป็นยุคสมัยที่มีความเจริญถึงขีดสุด ลพบุรีจึงเป็นเสมือนราชธานีแห่งที่ 2 รองจากกรุงศรีอยุธยา


ลพบุรี เป็นเมืองโบราณที่มีประวัติความเป็นมา ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่ อายุ 4,000 – 2,000 ปี ที่บ้านโคกเจริญ และขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคสำริด อายุ 2,800 – 2,500 ปี ที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ชุมชนเหล่านั้นได้เจริญก้าวหน้าเข้าสู่ยุคโลหะ มีอารยธรรม มีวัฒนธรรมการกินอยู่ การแต่งกาย และมีประเพณีการฝังศพของตนเอง ในสมัยประวัติศาสตร์ พระยากาฬวรรณดิศราช โอรสพระยากากะพัตร แห่งเมืองนครชัยศรี ได้เป็นผู้สร้างเมืองลพบุรี เมื่อปี พ.ศ. 1191 และตั้งชื่อเมืองว่า “ละโว้” หรือภาษาบาลีว่า “ลวะปุระ” ซึ่งตรงกับสมัยทวาราวดี ละโว้ยุคนั้นมีฐานะเป็นศูนย์กลางทางด้านศิลปวัฒนธรรมแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะเมืองลพบุรีขึ้นอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2406 โปรดให้สร้างหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏขึ้นเป็นที่ประทับภายในพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ราวปี พ.ศ. 2480 จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านได้ทำนุบำรุงเมืองลพบุรี โดยพยายามที่จะแยกเมืองลพบุรีออกจากเมืองเก่า ให้ดูสง่างามกว่าเดิม และได้สร้างสิ่งก่อสร้างศิลปะ แบบอาร์ตเดโค ขึ้นมากมาย ซึ่งยังปรากฏให้เห็นจนทุกวันนี้

ที่มา: สนง วัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี
รูป : ตามรอยวัดเก่า ลุ่มน้ำลพบุรี

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

Most Popular

Recent Comments